NTU Fan Club
บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

3. Soft skill + Hard skill ทักษะของมนุษย์ทำงานในปัจจุบัน


ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานของ    มนุษย์ทำงาน ก็ต้องเปลี่ยนไปตามบริบทที่หมุนผันแปรไปตามพลวัตรของโลกที่ไม่หยนิ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีค่าเป็น ทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่พึงประสงค์ขององค์กรก็ดี หรือ จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่ ก็ต้องมีทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคปัจจุบัน
1.1 ความรู้ที่ลึกซึ้งในงาน (Working Knowledge)
ในโลกของการแข่งขัน ความรู้สามารถหาได้ง่ายขึ้นและรอบตัว ดังนั้น มนุษย์งานที่พร้อมทำงานได้เลยในงานนั้น ๆ จะได้เปรียบกว่าบุคลากรเข้าใหม่ต้องรอการฝึกฝน และปัจจุบันนี้ การให้ค่าของความรู้ในรายละเอียดงานสำคัญกว่าปริญญาหรือเกรดในใบแสดงผลการเรียน
1.2 การคิดวิเคราะห์และตรรกะเหตุผล (Critical Thinking and Logical Reasoning)
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ประเด็นงาน และการแก้ปัญหางาน ด้วยระบบสมองที่ลึกซึ้ง มองหลายมิติและรอบด้าน รวมถึงการให้เหตุผลที่ชัดเจน จะทำให้ภาพฉายถึง ความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาดของบุคคลนั้น ๆ ที่พร้อมจะก้าวหน้าและเป็นผู้นำที่ดีต่อไปได้
1.3 ทักษะเกี่ยวกับสารสนเทศ (IT and Online Skill)
ในโลกปัจจุบัน การมีความรู้เชิงสารสนเทศในการใช้งาน และ การสื่อสารออนไลน์ ที่สัมพันธ์กันในรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายกับทุกสิ่ง หรือ Internet of Things: IOT เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่จำเป็นจะต้องรู้จักเป็นอย่างยิ่งเพื่อทันงานทันโลกที่ปัจจุบันเป็นยุคเปลี่ยนแปลงฉับพลันของดิจิตอล (Digital Disruption)
1.4 ทักษะการใช้โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone Applicability Skill)
หนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังที่สุดในยุค สังคมก้มหน้า คือ โทรศัพท์มือถือที่มีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หลายหลายการใช้งาน แม้ดูเหมือนเรื่องง่ายและใกล้ตัว แต่ลองพิจารณาดูว่า เราใช้ศักยภาพของโทรศัพท์มือถือได้ครบ เชี่ยวชาญ ลึกซึ้ง เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพแท้จริงของเครื่องหรือยัง
1.5 ความสามารถเชิงภาษา (Language Literacy)
ปัจจุบันนี้ภาษาพูด อ่าน เขียน ที่มากกว่าภาษาตน ยิ่งทวีความสำคัญ เพราะโลกถูกย่อด้วยเทคโนโลยีแล้ว ดังนั้นภาษาที่สองและสาม อาจเป็นประตูที่เปิดกว้างให้กับมนุษย์ทำงานให้โดดเด่น (Outstanding) ออกจากคนอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน
1.6 ทักษะในการจัดการงานเป็นระบบ (Management Skill)
ทักษะในการจัด ระบบความคิด เพื่อเชื่อมไปยังการจัดการงานให้เป็นระเบียบ เช่น ใช้ Demming Cycle: การวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) ตรวจสอบ (Check) และ การปรับ/ แก้ไข (Act) เป็นต้น ให้งานตนมีมาตรฐานได้ดีมีมาตรฐาน
1.7 ความสามารถในการนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
2.1 การบริหารเวลา (Time Management)
การรู้จักหน้าที่และให้ความสำคัญกับการ ตรงต่อเวลา (On time) และ สามารถจัดการงานต่าง ๆ ได้่างเหมาะสมกับ กรอบเวลา (Timeframe) จะเป็นการแยกคนที่มี ประสิทธิภาพ (Efficiency) กับคนไร้ประสิทธิภาพออกจากกัน
2.2 ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
คนที่พร้อมในการ ปรับ และ เปลี่ยน พร้อม เรียนรู้ ต่อสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และมีความรับผิดชอบต่องาน จะเป็นทุนมนุษย์ที่องค์กรใด ๆ ก็พร้อมอ้าแขนรับมากกว่า
2.3 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
การรู้ว่าการสื่อสารระหว่างกันที่มีความต่าง ระหว่าง การสื่อสารขึ้นบน (Upward Communication) กับหัวหน้า การสื่อสารด้านข้าง (Horizontal Communication) กับเพื่อนร่วมงานและฝ่ายอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน และ การสื่อสารลงล่าง (Downward Communication) กับลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ บุคลากรในระดับต่ำกว่า ต่างก็ต้องใช้ เทคนิค ภาษาที่ใช้ คำพูด เครื่องมือ เอกสาร. ละ เทคนิค ที่ต่างกัน คนที่สื่อสารได้ดีจะได้เปรียบในงานกว่า
2.4 การทำงานเป็นทีมได้ (Team Collaboration)
ในโลกของการแข่งขันภายนอก ภายในองค์กรก็เช่นกัน คนที่ปรับตัวกันคนอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลายลักษณะ ความรู้ ทักษะ รูปแบบงาน ผันตนตามคนอื่นไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง จะทำให้มีคุณค่ากับทีมในการเชื่อมโยงองค์กรและงานได้ดีกว่า
2.5 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นภาพสะท้อนของการมีและพร้อมของ ความคินอกกรอบ (Out of the Box) และ การมีมุมมองใหม่ ซึ่งจะสร้างคุณค่าทั้งกับงานของตนเองและองค์กรได้ดี
2.6 การเจรจาต่อรอง (Negotiation)
หนึ่งในทักษะที่สะท้อนภาพการมีชั่วโมงบินสูง ของการเป็น มืออาชีพ (Professional) ที่เหนือกว่าคนอื่น คือ สามารถใช้เทคนิคการต่อรองที่จะได้ผล ชนะ-แพ้ (Win-Lose) หรือ ชนะ-ชนะ (Win-Win) ให้แก่ส่วนงาน หรือ องค์กรได้ ดังนั้นต้องมีเทคนิคในการให้น้ำหนัก ใช้ภาษา และ การชี้ประเด็นที่เด็ดขาดเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นบวกนั่นเอง
   ดังนั้นทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ของงานในยุคปัจจุบันมีหลายสิ่งใหม่กับมนุษย์งาน คุณพร้จะเปลี่ยนตามเพื่อเป็น ทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ (Desirable Human Capital) ขององค์กรมากน้อยแค่ไหน
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
แลกเปลี่ยนกัน
Fan of Nation University